ความแตกต่างของลูกแพร์และลูกสาลี่

 

หลายท่านคงคิดกันว่า ลูกแพร์ กับ ลูกสาลี่ เป็นผลไม้สายพันธุ์เดี่ยวกัน  เพราะ รสชาติ กับกลิ่นหอมของ ทั้ง 2 ผลไม้มีความใกล้เคียงกัน แต่ที่จริงแล้ว  ลูกแพร์ เป็นผลไม้คนละสายพันธุ์กับ ลูกสาลี่  ค่ะ

ลักษณะของลูกแพร์ จัดเป็นผลไม้เมืองหนาวที่มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ผลจะใกล้เคียงกับแอปเปิ้ล แต่เปลือกบาง เมื่อผลสุกแล้วจะเนื้อนิ่มมากและฉ่ำน้ำ เนื้อไม่แข็งเท่าแอปเปิ้ล มีรสหวานอมเปรี้ยวและหวานหอม แพร์ที่นิยมรับประทานมากที่สุดคือ Williams pear หรือที่เรียกว่า Bartlett ในสหรัฐและแคนาดา

ลักษณะของลูกสาลี่ นั้นมีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันตกของประเทศจีน มีลักษณะคล้ายกับแอปเปิ้ลเช่นกัน มีหลายสี ตั้งแต่สีเหลือง เขียว สีแดงอมส้ม และสีน้ำตาล โดยเนื้อสาลี่จะมีลักษณะกรอบและฉ่ำน้ำ (แต่บางสายพันธุ์จะเป็นเนื้อทราย) มีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย เนื้อมีกลิ่นหอม มีเมล็ดขนาดเล็กลักษณะแบนรี สีดำหรือสีน้ำตาลออกดำ

สรรพคุณของลูกแพร์

  1. ลูกแพร์เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  2. มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่าโพลีฟีนอล ซึ่งช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง ต่อต้านมะเร็งอีกด้วย
  3. การรับประทานผลไม้อย่างเช่นลูกแพร์เป็นประจำ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม
  4. ลูกแพร์เป็นผลไม้เย็น สามารถใช้รับประทานเพื่อบรรเทาอาการไข้ได้
  5. มีเส้นใยเพกทิน ที่ช่วยขับโลหะหนักออกจากร่างกาย
  6. ช่วยในการลดน้ำหนัก ลดระดับคอเลสเตอรอล ลดไขมันเลว (LDL)
  7. ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
  8. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้
  9. ช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง
  10. ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
  11. ลูกแพร์เป็นผลไม้ที่มีเส้นใยสูง จึงช่วยในการขับถ่าย ช่วยทำความสะอาดลำไส้ ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
  12. ลูกแพร์มีเอนไซม์ไฟซิน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยย่อยอาหาร มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ จึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายเป็นอย่างยิ่ง
  13. ช่วยชะล้างของเสียที่สะสมอยู่ในไตก่อนที่ของเสียเหล่านั้นจะตกผลึกกลายเป็นก้อนนิ่ว
  14. ช่วยในการขับปัสสาวะ
  15. ช่วยรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง
  16. น้ำลูกแพร์มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากการอักเสบต่าง ๆ
  17. ลูกแพร์มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเกาต์
  18. ลูกแพร์มีแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง ซึ่งเหมาะที่จะนำมารับประทานเพื่อช่วยล้างพิษในร่างกาย
  19. การดื่มน้ำลูกแพร์สามารถช่วยบำรุงเส้นเสียงและลำคอได้

ประโยชน์ของลูกแพร์

  1. ลูกแพร์เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินบี 3 วิตามินบี 9 ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม และธาตุแมกนีเซียม
  2. ลูกแพร์เป็นผลไม้เพียงไม่กี่ชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ด้วย จึงเหมาะอย่างมากหากให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้รับประทาน
  3. ลูกแพร์มีกรดโฟลิกหรือวิตามินบี 9 ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับทารกในครรภ์

สรรพคุณของลูกสาลี่

  1. ลูกสาลี่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
  2. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ภายในร่างกาย
  3. ช่วยระงับประสาท ผ่อนคลายความกังวล ไม่สบายใจ มีความทุกข์ในจิตใจ
  4. ช่วยฟอกเลือดให้สะอาด ทำให้ไตทำงานได้ดีขึ้น
  5. ช่วยปรับสมดุลของน้ำตาลในเลือด
  6. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  7. สาลี่เป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น จึงช่วยแก้กระหาย คลายร้อน ช่วยลดความร้อนในร่างกาย และดับพิษร้อนในร่างกายได้เป็นอย่างดี
  8. ช่วยบรรเทาอาการหวัด ด้วยการนำสาลี่มาสับให้ละเอียดแล้วนำไปต้มกับน้ำตาลทรายรับประทาน
  9. ช่วยแก้อาการไอ ไอแห้ง ช่วยละลายเสมหะ เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ปอด
  10. ช่วยแก้อาการคอแห้ง เจ็บคอระคายคอ เค็มคอรู้สึกกระหายน้ำ ซึ่งมีสาเหตุมาจากอาหารที่ใส่ผงชูรสเยอะ ๆ
  11. สาลี่มีสรรพคุณช่วยบำรุงปอดให้แข็งแรง
  12. ช่วยฟอกกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารแข็งแรง
  13. ช่วยกระตุ้นความเฉื่อยชาของลำไส้ และช่วยในการหลั่งน้ำย่อยต่าง ๆ ในระบบการย่อยอาหาร ลดอาการท้องอืด ทำให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น
  14. สาลี่มีเส้นใยอาหารสูง จึงช่วยระบาย ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ดี
  15. ช่วยในการขับปัสสาวะ
  16. ช่วยกระตุ้นการทำงานของไต

ประโยชน์ของลูกสาลี่

  1. ลูกสาลี่เป็นผลไม้ที่มีรสหวาน มีน้ำตาลที่ร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที ทำให้ไม่รู้สึกหิว สาลี่จึงเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักเป็นอย่างมาก
  2. สาลี่เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับลำคอ ร่างกายอ่อนแอ เป็นโรคโลหิตจางและวัณโรค
  3. กลิ่นหอมของสาลี่สามารถช่วยกระตุ้นจิตใจ ทำให้รู้สึกสดชื่น เบิกบาน

สรุปได้ว่า ความแตกต่างของลูกแพร์และลูกสาลี่ นั้นแทบไม่ต่างกันเท่าไรนัก มีเพียงแค่ถิ่นกำเนิด และ รสสัมผัส เท่านั้น ส่วนคุณประโยชน์ นั้น มีมากพอๆ กัน ขอแนะนำ ให้รับประทานควบคู่กัน ได้เลย กรอบ อร่อย หอมหวาน มีประโยชน์เต็มๆเลยค่ะ

ที่มา medthai

%ข 17, 2021